อัลบูมินคืออะไร
อัลบูมิน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในเลือด (ประมาณ 50% ของโปรตีนที่พบในเลือด) มีหน้าที่ในการสร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน ต่อสู้กับการติดเชื้อ
อัลบูมินถูกสร้างจากกรดอะมิโนที่ตับหากร่างกายได้รับโปรตีน กรดอะมิโนจำเป็นและพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ระดับอัลบูมินในเลือดต่ำได้เช่นเดียวกันกับการที่ร่างกายมีภาวะติดเชื้อหรือการอักเสบ
ดังนั้นระดับอัลบูมินจึงถูกใช้ในการประเมินสภาวะทางโภชนาการร่วมกับการประเมินอื่นๆ เพราะมีหลายรายงานการวิจัยที่พบว่า ภาวะอัลบูมินในเลือดที่ลดต่ำลงมีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน และอัตราการตายที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตทั้งการล้างช่องท้อง (PD) และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD)
จากรายงานการวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มรสชาติจากไข่ขาว สามารถเพิ่มระดับอัลบูมินในเลือดได้ ขณะที่ระดับฟอสฟอรัสในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีสภาวะทางโภชนาการดีขึ้นและป้องกันภาวะทุพโภชนาการอย่างได้ผล
แหล่งของอัลบูมินในอาหาร พบได้ในไข่ขาว (กว่า 50% ของโปรตีนจากไข่ขาว คือ โปรตีนอัลบูมิน) ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ จึงนิยมแนะนำให้รับประทานไข่ขาว แต่การรับประทานไข่ขาวเป็นประจำอาจมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น รู้สึกเบื่อ,ต้องรับประทานในปริมาณมาก (ไข่ขาวมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 90%) ในการรับประทานไข่ขาว ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเติมซอสปรุงรสเพื่อเพิ่มรสชาติ จึงทำให้ผู้บริโภคได้รับปริมาณโซเดียมเพิ่มมากขึ้น (อาจส่งผลต่อความดันโลหิตและภาวะบวมน้ำ)ในประเทศไทยพบว่า ยังมีประชากรอีกจำนวนไม่น้อยที่บริโภคโปรตีนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือมีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีความต้องการโปรตีนมากกว่าปกติ (ผู้มีภาวะทุพโภชนาการจากการขาดโปรตีน ผู้ป่วยมะเร็งในรายที่มีความต้องการโปรตีนสูง และผู้ป่วย HIV)ดังนั้น
ปัจจุบันจึงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากผงไข่ขาวทดแทนไข่ขาวสดปรุงสุกทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม การได้รับพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็เป็นส่วนสำคัญในการนำโปรตีนที่ได้รับไปใช้สร้างอัลบูมินในเลือดเช่นกัน