top of page

สังคมผู้สูงอายุ

ปัจจุบัน ปัญหาผู้สูงอายุในสังคมไทยถูกทอดทิ้ง หรือกลายเป็นคนไร้ญาติขาดที่พึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างประชากรของประเทศไทยกำลังเปลี่ยนไป มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่“สังคมผู้สูงอายุ” อย่างเต็มตัวจำนวนผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง หรือไร้ญาติขาดที่พึ่งที่เพิ่มขึ้น หากปล่อยให้คนเหล่านี้ต้องเผชิญชีวิตอยู่ตามยถากรรมอย่างโดดเดี่ยวก็จะกลายเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาได้

สถานการณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทยกำลังเป็นที่น่าวิตก และถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว มีแนวโน้มเพิ่มสูงถึงกว่า 4 แสนคน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนไป ความรักความผูกพันธ์ในครอบครัวน้อยลง คนในครอบครัวมัวแต่สนใจเรื่องการทำงานเก็บเงิน จนอาจมองข้ามความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว กลายเป็น"กระแสทุนนิยม" แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุด คือ "ความรู้สึกเหงา" สูงถึงร้อยละ 51.2 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว รองลงคือ ปัญาหาไม่มีคนดูแลท่านเมื่อเจ็บป่วยร้อยละ 27.5 ปัญหาด้านการเงินที่ต้องเลี้ยงชีพ ร้อยละ 15.7 และ ร้อยละ 5.3 ไม่มีลูกหลานมาช่วยแบ่งเบาภาระภายในบ้าน

จากกระแสการบริโภคนิยมและความผูกพันธุ์กับผู้สูงอายุในครอบครัวลดน้อยลงมาก เราควรหันมาสนใจผู้สูงอายุ คือ ดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเวลาปกติหรือเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย หาโอกาสพาไปพักผ่อน หากิจกรรมให้ทำในเวลาว่าง เป็นการสร้างความอบอุ่น และความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัวผลกระทบของปัญหา

ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ครอบครัวไทยใช้ชีวิตแบบครอบครัวเดี่ยวที่มีเพียงพ่อ แม่ และลูกเท่านั้น ก็อาจย่อมชี้ให้เห็นว่าเป็นการแยก "ผู้สูงอายุ" ออกจากครอบครัวอย่างสิ้นเชิงเพราะต่างฝ่ายต่างแยกกันอยู่ ส่วนหนึ่งที่ยังอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ๋ ก็อาจไม่มีเวลาอยู่กับผู้สูงอายุ เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องออกไปทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ทำให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสที่จะปรนนิบัติรับใช้อย่างที่เคยเป็นในอดีตได้น้อยมากภาพที่เริ่มเห็นเป็น เรื่องปกติ คือ ครอบครัวต่างแยกย้ายอยู่กระจัดกระจาย ผู้สูงอายุจะดำรงชีวิตเพียงลำพัง หรือถูกทอดทิ้งให้อยู่กันตามลำพังคนเดียวในบ้าน หรือปล่อยให้อยู่กับเด็กรับใช้ หรือผู้สูงอายุด้วยกัน ซึ่งหากเกิดภาวะฉุกเฉิน หรือเจ็บป่วยไม่มีผู้ดูแล จากสถิติของสังคมอเมริกันพบว่า ผู้สูงอายุ สามีภรรยาอายุระหว่าง 65 - 74 ปีจะพักอาศัยอยู่ด้วยกันถึงร้อยละ 55 อยู่กับเครือญาติร้อยละ 13 และอยู่คนเดียวร้อยละ 24 สถิติการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในสังคมไทยยังมีข้อมูลที่ไม่ชัดเจน เพียงสรุปว่า ลูกหลานของผู้สูงอายุที่มีรายได้จุนเจือครอบครัวยังคงรับผู้สูงอายุไว้อุปการะดูแล ทำนองเดียวกับครอบครัวในกลุ่มประเทศเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซียยังคงยึดขนบธรรมเนียมประเพณีการเป็นผู้มีความกตัญญูรู้คุณที่ต้องดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุไว้ในบ้านของตนเอง

การลดความรุนแรงของปัญหา

1. ควรนั่งคุยกันว่าใครจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ พอรับหน้าที่ต้องมีความเต็มใจ และความพร้อมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ

2.จัดหาที่อยู่ที่ดี มีสังคมที่ดี ไม่ทอดทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง

2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุเอง ควรมีความเข้าใจสภาวะร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อดูแลได้อย่างเหมาะสม

3. ควรมีการเตรียมพร้อม สำหรับเหตุฉุกเฉิน

bottom of page